ชือเรื่อง รายงานผลการพัฒนาสื่อการเรียนการสอนรูปแบบบอร์ดเกมสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 รายวิชาการเขียนโปรแกรมเบื้องต้น
ชื่อผู้วิจัย นายนพล สระแก้ว
สาขาวิชา คอมพิวเตอร์
ปีการศึกษา 2560
บทคัดย่อ
จากประสบการณ์ที่ผู้รายงานได้รับมอบหมายให้ทำการสอนในรายวิชาการเขียนโปรแกรมเบื้องต้น รหัสวิชา ง20202 ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนฤทธิยะวรรณาลัย ๒ ตั้งแต่ ปีการศึกษา 2557 ถึงปัจจุบัน นั้น เนื้อหาของรายวิชาเป็นการเขียนโปรแกรมเบื้องต้นด้วยภาษาซี ผู้รายงานจึงได้คิดรูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้บอร์ดเกม เป็นสื่อในการจัดกระบวนการเรียนการสอนในรายวิชาโดยเริ่มทดลองตั้งแต่ ปีการศึกษา 2557 และแก้ไขปรับปรุงทดลองเรื่อยมาจนปีการศึกษาปัจจุบัน การพัฒนาตัวบอร์ดเกมครั้งนี้ผู้รายงานได้ใช้กระบวนการ Design thinking ร่วมกับรูปแบบการวิจัยและพัฒนา (The Research and Development : R&D ) และได้ทำการศึกษาถึงผลการใช้บอร์ดเกมที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน เพื่อหาประสิทธิภาพของบอร์ดเกมที่สร้างขึ้นโดยตั้งเกณฑ์ไว้ที่ 80/80 และศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนต่อการใช้บอร์ดเกม ทำการทดลองใช้บอร์ดเกมกับกลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/2 จำนวน 44 คน โดยวิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง
ผลการวิจัยพบว่า
- พบว่าเมื่อนักเรียนจำนวน 30 คนได้ทำการทดลองเล่นเกม แล้วทำแบบฝึกหัดระหว่างเรียนและทดสอบหลังเรียนจะเห็นได้ว่าบอร์ดเกมมีประสิทธิภาพหรือ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างเรียน (E1) เท่ากับ 81.50 และ ประสิทธิภาพหรือ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียน (E2) เท่ากับ 86.33 แสดงให้เห็นว่าประสิทธิภาพของบอร์ดเกม มีประสิทธิภาพ 81.50/86.33 เป็นไปตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้
- ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนของนักเรียนสูงกว่าก่อนเรียนด้วยการใช้บอร์ดเกมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 เป็นไปตามสมมติฐาน
- ผลจากการประเมินความพึงพอใจของนักเรียนต่อบอร์ดเกม โดยแยกประเมินออกเป็นเกม 5 เกม ผลการประเมินสรุปได้ดังนี้ เกม structure มีภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด คือ = 4.52 และมีค่า S.D. = 0.39 เกม Bingo Variable มีภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด คือ = 4.58 และมีค่า S.D. = 0.30 เกม Type name มีภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด คือ = 4.55 และมีค่า S.D. = 0.37 เกม C name มีภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด คือ = 4.60 และมีค่า S.D. = 0.34 และเกมสุดท้าย เกม Expression มีภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด คือ = 4.55 และมีค่า S.D. = 0.41 สรุปในทุกเกมนักเรียนมีความพึงพอใจในระดับมากที่สุด เป็นไปตามสมมติฐาน
ดาวน์โหลดเกม
สุดท้ายนี้ผู้รายงานหวังเป็นอย่างยิ่งว่า การพัฒนานวัตกรรมในครั้งนี้จะมีส่วนช่วยให้ผู้สอน นักเรียนหรือผู้ที่สนใจจะนำเอาเกมไปใช้เพื่อประโยชน์ต่อการพัฒนาการศึกษาให้สูงยิ่งๆขึ้นไป